ภาวะโลกร้อน หรือ climate change ที่เราได้ยินคุ้นหูกันดีนั้นมันมาจากการเปลี่ยนแปลงโดยเฉลี่ยของอุณภูมิโลกนั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดสภาพอากาศที่แปรปรวน และภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ภาวะโลกร้อนนั้นยังส่งผลกระทบไปยังสิ่งมีชีวิตต่างๆที่อาศัยอยู่บนโลก ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ หรือแม้กระทั่งพืช ที่ผ่านมาบนโลกใบนี้ก็มีบทเรียนมากมายที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนให้เห็นกัน ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว พายุถล่ม น้ำท่วม ไฟป่า หรือแม้แต่ฝุ่น pm 2.5 ที่นับวันจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณและต้นตอของปัญหาโลกร้อนนั้นก็เพราะผลของ green house effect หรือเรียกอีกอย่างว่าภาวะเรือนกระจก ซึ่งเกิดจากจำนวนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนชั้นบรรยากาศที่มากเกินไป และสำหรับชั้นบรรรยากาศของโลกนั้น มีส่วนประกอบของก๊าซไนโตรเจน 78% ก๊าซออกซิเจน 21% และก๊าซอาร์กอน 0.9% นอกนั้นเป็นไอน้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนเล็กน้อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นเป็นก๊าซที่มีโมเลกุลใหญ่ เช่นเดียวกับ ก๊าซมีเทน และไอน้ำ มีความสามารถในการดูดกลืนรังสีอินฟาเรด ส่งผลทำให้อุณหภูมิโลกอบอุ่น และก๊าซเหล่านี้เรียกว่า ก๊าซเรือนกระจก (green house gas) คุณสมบัติของมันคือกักเก็บความร้อน หากบนชั้นบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซตัวนี้ อุณภูมิบนผิวโลกก็จะติดลบ แต่ถ้าหากมีมากเกินไปก็เป็นสาเหตุให้อุณหภูมิสูงที่นำไปสู่อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และนำไปสู่ปรากฎการณ์เรือนกระจก และต้นเหตุของสภาวะเรือนกระจกที่เกิดขึ้นนี้ ก็เพราะน้ำมือของมนุษย์
เมื่อโลกเริ่มเข้าสู่ยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม ระหว่างปี 1850-1950 เป็นช่วงเริ่มต้นของการเผาผลาญพลังงานและสร้างมลภาวะที่มีผลกระทบต่อโลก เพราะผลจากการผลักดันการผลิต และการเผาผลาญพลังงานเพื่อผลิตสินค้าและบริการ และเมื่อปี 1870 เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้พลังงานไฟฟ้า และใช้สารเคมี ส่งผลให้สภาพแวดล้อมเสียหายมากขึ้น และในปี 1920 คือ เป็นปีจุดเริ่มต้นของพลังงานฟอสซิล ค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ และโลกได้รู้จักพลังงานรูปแบบใหม่ที่ได้จากการกลั่นปิโตเลียม และในช่วงเดียวกันเป็นยุคของการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาอย่างมหาศาล
แม้ว่าในอดีตกาล จะมีนักวิทยาศาสตร์เริ่มออกมาเตือน และตระหนักว่า ก๊าซบางชนิดที่ปล่อยไปบนชั้นบรรยากาศนั้นจะทำให้เกิดผลกระทบต่อโลก แต่ก็ยังโดนเพิกเฉย จวบจนในปี 1980 โลกเริ่มตื่นตัวมากขึ้น เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลก และเริ่มมีการร่างอนุสัญญาเพื่อกำหนดข้อจำกัดการปล่อยก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศ และไม่กี่ปีต่อมาเริ่มมีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อนมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) หรือการลงนามพิธีเกียวโต ในประเทศญี่ปุ่นที่มีเป้าหมายในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศ และความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่มีมาตราการ ข้อตกลงร่วมกันในระดับนานาชาติ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และหยุดการเพิ่มขึ้นของอุณภูมิเฉลี่ยทั่วโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เริ่มใช้ในปี 2020
ในปัจจุบันมีประเทศสมาชิกร่วมลงนามในความตกลงปารีสรวมแล้ว 197 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งได้ร่วมลงนามเข้าร่วมความตกลงปารีส เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 และไทย ได้ให้ข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศโดยการลดก๊าซเรือนกระจก โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซให้ได้ร้อยละ 10-25 ภายในปี พ.ศ 2573
แล้วเราจะลดก๊าซเรือนกระจกได้ยังไง
ในการลดก๊าซเรือนกระจกนี้ สามารถทำได้หลายระดับ ทั้งในระดับบุคคลถึงระดับองค์กรและภาคอุตสาหกรรมในส่วนของระดับบุคคล ก็สามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น การใช้ทรัพยากรให้รู้คุณค่า ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้งาน ใช้น้ำอย่างประหยัด ลดการใช้พลาสติก แยกขยะ หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมสำหรับในระดับองค์กร คือการลดจำนวน carbon footprint ขององค์กร เช่นลดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน สนับสนุนพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาด การควบคุมและจัดการของเสีย
ในปัจจุบันนี้กลุ่มธุรกิจ กลุ่ม SME และกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เริ่มหันมาสนใจในเรื่อง green technology มากขึ้น มีการคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ มาปรับใช้เพื่อรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้ธุรกิจมีความยั่งยืน
Green technology คืออะไร
ความเป็นมาของ Green Technology
แรกเริ่มเดิมทีแล้วคอนเซปและที่มาของ green technology เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยอารยธรรมในโลกในยุคโบราณ อย่างเช่น
- ยุคสมัยอิยิปต์โบราณ ที่มีโครงสร้างอนุเสาวรีย์ ที่ใช้เทคนิคการออกแบบอย่างยั่งยืน โดยใช้พลังงานหมุนเวียน และสร้างตึกให้รับพลังงานแสงธรรมชาติให้มากที่สุด
- ยุคสมัยจีนโบราณ ที่เป็นผู้ริเริ่ม พลังงานสะอาด โดยคิดค้นเตาประหยัดพลังงาน หรือพัฒนาการเพาะปลูกโดยใช้ พืชหมุนเวียน
- ในการปฎิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 19 คือจุดพลิกผัน ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เข้ามา ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่นมลพิษทางอากาศ และทางน้ำ และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปและในศตวรรษที่ 20 เริ่มมีการตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเริ่มมีการลงทุนในเทคโนยีสีเขียวมากขึ้น
- กรีนเทคโนโลยี เริ่มก่อตั้งในปี 1990s และเริ่มเป็นที่นิยมในช่วงปี 2006 ถึง 2011 กลุ่มในบริษัท ร่วมทุน (VC) หรือ นักลงทุน เริ่มมีการลงทุนในบริษัท green-tech startups มากกว่า 25 พันล้านดอลล่าสหรัฐ
ทำไม Green technology ถึงมีบทบาทในปัจจุบัน
เพราะอุณภูมิของโลกเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แย่ลงขึ้นทุกวัน และระดับก๊าซคาร์บอนโดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกสูงถึง 420 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่เคยมีในประวัติศาสตร์โลก และจากการรายงานของ UN (องค์การสหประชาชาติ) ระบุว่า ภายในปี 2030 – 2052 อุณหภูมิโลกจะแตะไปถึง 1.5 องศาเซลเซียส หากจำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทุกการเพิ่มขึ้นของอุณภูมิจะมีผลกระทบทั้งต่อโลกและมาถึงมนุษย์เราอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความร้อนที่ส่งผลความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ผลผลิตจากธรรมชาติลดลง ส่งผลกระทบต่ออาหาร และสุขภาพของมนุษย์ซึ่งการแก้ไขและพลิกฟื้นสถานการณ์ที่ทำได้คือการลดและหยุดจำนวนคาร์บอนไดออกไซด์และองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่าหากทั่วโลกมีการเปลี่ยนไปลงกับพลังงานสะอาด จะทำให้โลกบรรลุเป้าหมาย net zero ภายในปี 2050 ได้
ประเภทของ Green technology มีอะไรบ้าง
-
Solar power คือ พลังงานโซลาร์ที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ที่สามารถผลิตได้ทั้งกระแสไฟฟ้า และความร้อน ซึ่ง ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นพลังงานที่ใช้ได้ไม่มีวันหมด ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์นั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การใช้เพื่ออุปโภคบริโภคในครัวเรือน เช่นการติดแผงโซลาร์เซลแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานไฟฟ้า อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้สำหรับการสูบน้ำในการเกษตรได้ด้วย
-
Wind power คือ การผลิตพลังงานโดยใช้ลม ซึ่งเป็นการนำการเคลื่อนที่ของลมมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยเครื่องจักรกลที่เรียกว่า “กังหันลม” และสามารถนำพลังงานมาใช้ประโยชน์โดยตรงเช่น การบดสีเมล็ดพืช การสูบน้ำ
-
Water power คือ พลังงานน้ำ เป็นพลังงานธรรมชาติรูปแบบหนึ่ง โดยอาศัยกำลังจากการเคลื่อนที่ของน้ำ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง พลังงานคลื่น และพลังงานน้ำตก พลังงานรูปแบบนี้น้ำมาใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การใช้ประใช้ประโยชน์ในครัวเรือน หรือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม รวมไปทั้งการผลิตไฟฟ้า
- คือ พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นการเจาะแกนกลางของโลกที่มีความร้อนถึง 5,000 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นการเจาะเพื่อให้น้ำร้อนที่อยู่ในโพรงของชั้นหินลอยขึ้นมาจากพื้นดิน สูงไปยันชั้นบรรยากาศ ทำให้เมฆก่อตัวแล้วตกลงมาเป็นฝน และใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
- คือ เชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นสสารที่ได้จากพืชและสัตว์ที่มาจากการสร้างหรือการย่อยสลาย รวมไปถึงขยะจากการเกษตรและอุตสาหกรรม
-
Biogas คือ แก๊สชีวภาพ เป็นแก๊สที่เกิดโดยธรรมชาติจากการย่อยสลายของอินทรีย์ในสภาวะไร้แก๊สออกซิเจน ภายใต้อุณภูมิและความชื้นที่เหมาะสม โดยแก๊สที่ได้เหล่านี้สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือเป็นแก๊สหุงต้มได้
-
Green Medical and Healthcare คือ แนวคิดและการปฏิบัติที่โรงพยาบาลมุ่งเน้นการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมความยั่งยืนในด้านการดูแลสุขภาพ แนวคิดนี้รวมถึงการลดการใช้ทรัพยากร, การลดการปล่อยของเสีย, การใช้พลังงานทางเลือก, วัคซีน, และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาลและโรงพยาบาล ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยได้ ผลักดัน และสนับสนุนนักวิจัย เนื่องจากพอมีนวัตกรรมเรื่องวัคซีนที่ดีเข้ามา ทำให้ตอบโจทย์ BCG และเรื่องกรีนมากขึ้น
-
Smart Farming คือ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร โดยเทคโนโลยีเหล่านี้รวมถึงการใช้เซนเซอร์, ระบบนำร่องด้วย GPS, อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT), ปัญญาประดิษฐ์ (AI), และข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบและควบคุมการทำงานของฟาร์มได้อย่างแม่นยำ
คุณเห็นความสำคัญของ green tech แล้วหรือยัง
Green Technology เป็นตัวการสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และหยุดยั้งความเสื่อมโทรมของธรรมชาติ อีกทั้งมนุษย์ยังสามารถคิดค้นนวัตกรรมและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสีเขียวนี้ได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสะอาด (clean tech) หรือเทคโนโลยีด้านสภาพอากาศ (climate tech)